วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คลอโรฟิลล์คืออะไร ?

คลอโรฟิลล์ (อังกฤษ: Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ลำต้น ดอก ผลและรากที่มีสีเขียว และยังพบได้ในสาหร่ายทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบได้ในแบคทีเรียบางชนิด คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต  คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)

โครงสร้างทางเคมี คลอโรฟิลล์เป็นสารที่ละลายได้ดีในอะซีโตนและแอลกอฮอล์ โครงสร้างอาจแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหัว และส่วนหาง โดยที่ส่วนหัวของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็นวงแหวนไพรอล (pyrole ring) ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ 4 วง และมีธาตุแมกนีเซียมอยู่ตรงกลางโดยทำพันธะกับไนโตรเจน ส่วนหัวนี้มีขนาดประมาณ 1.5x1.5 อังสตรอม ส่วนหางของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 20 อะตอม มีความยาวประมาณ 2 อังสตรอม คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้าและสีแดง แต่ดูดกลืนช่วงแสงสีเหลืองและเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ดูดกลืนจึงสะท้อนออกมา ทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว [2] ในธรรมชาติมีคลอโรฟิลล์อยู่หลายชนิดด้วยกันซึ่งแต่ล่ะชนิดมีโครงสร้างหลักที่เหมือนกันคือ วงแหวนไพรอล 4 วง แต่โซ่ข้าง (side chain) ของคลอโรฟิลล์แต่ละชนิดจะมีลักษณะที่ต่างกันออกไป เช่น คลอโรฟิลล์ เอ (chlorophyll a) และคลอโรฟิลล์ บี (chlorophyll b) มีโครงสร้างโมเลกุลที่ต่างกันเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ ที่วงแหวนไพรอลวงที่สองของคลอโรฟิลล์ เอ มีโซ่ข้างเป็นหมู่เมททิล (-CH3) ส่วนของคลอโรฟิลล์ บี เป็นหมู่อัลดีไฮด์ (-CHO) ซึ่งการที่โครงสร้างที่ต่างกันนี้ก็ทำให้มีคุณสมบัติแตกต่างกันด้วยโดยเฉพาะด้านการละลายโดยที่ หมู่เมททิลของคลอโรฟิลล์ทำให้โมเลกุลมีขั้ว ดังนั้นจึงละลายได้ดีในสารละลายที่มีขั้ว เช่น เมทิลแอลกอฮอล์ ส่วนหมู่อัลดีไฮด์ซึ่งไม่มีขั้ว จึงทำให้คลอโรฟิลล์ บี ละลายได้ดีในตัวทำละลายไม่มีขั้ว เช่น ปิโตรเลี่ยมอีเธอร์ (petroleum ether) รวมทั้งคุณสมบัติการดูดกลืนแสงก็ต่างกันด้วย และทำให้คลอโรฟิลล์ทั้งสองชนิดนี้มีสีต่างกันเล็กน้อย โดยที่คลอโรฟิลล์ เอ มีสีเขียวเข้ม ส่วนคลอโรฟิลล์ บี มีสีเขียวอ่อน

Research & Study



"The German organic chemist Hans Fischer (1881-1945) was awarded the Nobel Prize in Chemistry in 1930 for his researches into the constitution of hemin and chlorophyll and especially for his synthesis of hemin."
"นักเคมีชีวะชาวเยอรมัน ด็อกเตอร์ ฮาน ฟิชเชอร์ ได้รับรางวัล โนเบิล ในปี 1930 จากการงานวิจัย ความสัมพันธ์ ระหว่าง คลอโรฟิลล์ กับเม็ดเลือด "

Hans Fischer, the son of Dr. Eugen Fischer, a manufacturer of chemicals, was born at Höchst am Main, on July 27, 1881. He entered the University of Lausanne in 1899, read chemistry and medicine, and subsequently transferred to the University of Marburg, where he graduated in chemistry in 1904. Two years later he qualified in medicine at Munich. In 1908 he graduated as a doctor of medicine at Munich. He was assistant to the chemist Emil Fischer at Berlin (1908-1910) and did some early work on bile pigments at Munich (1910-1912).

After a year as a teacher of internal medicine and three as lecturer in physiology at Munich, Fischer held the chair of medical chemistry at Innsbruck (1916-1918) and then at Vienna (1918-1921). From 1921 until his death he was professor of organic chemistry at the Technische Hochschule in Munich.

From 1911 Fischer studied the pyrrole group of the heterocyclic compounds. In 1915 he showed that the urine and feces of a case of congenital porphyria, a disease then recently discovered, contained uroporphyrin and coproporphyrin.
งานวิจัยค้นคว้าถึงคุณประโยชน์ของคลอโรฟิลล์  
ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์

- ช่วยเพิ่มปริมาณเลือดให้กับร่างกาย

- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำพาออกซิเจนเข้าสู่เซลล์

- ช่วยขจัดสารพิษในเลือด ตับ และไต

- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด


- ปรับสมดุลให้กับร่างกาย


- ให้ความสดชื่น


- ผิวพรรณสดใส


- ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น


- มีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย


- เสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ประโยชน์ของวิตามินซี


- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ


- เสริมระบบภูมิคุ้มกัน


- ช่วยให้ผิวพรรณสดใส


- ช่วยให้หลอดเลือดแดงมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีขึ้น


- มีบทบาทสำคัญในการสร้างโปรตีน คอลาเจน


- ป้องกันโรคโลหิตจาง


- ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง


- ป้องกันสภาวะโรคหัวใจ


- ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง


- ป้องกันต้อกระจกในผู้สูงอายุ
















ด้วยมิตรภาพ

อัญชลีรัตน์  บุญยวิตร์




ขอกล่าวคำขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ที่ควรค่าแก่การแบ่งปัน


เราขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน และยินดีที่จะร่วมกันสร้างสรรสิ่งดีๆ เพื่อเป็น
กำลังใจให้แก่กันและกันตลอดไปค่ะ
หญิงเล็ก
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น